วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แผนการสอน


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เรื่อง  วิธีการลดปริมาณขยะ – เพิ่มรายได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
                เข้าใจแนวทางการแก้ปัญหาปริมาณขยะและเพิ่มรายได้

สาระการเรียนรู้
1.  ความหมายและประเภทของขยะ
2.  วิธีการลดปริมาณขยะ
3.   เสริมรายได้ให้กับครอบครัว

การบูรณาการกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
1.              ความพอเพียง
1.1  ความพอประมาณ
นักเรียนรู้สภาพปัญหาปริมาณขยะในโรงเรียน
1.2  ความมีเหตุมีผล
นักเรียนรู้ถึงวิธีการลดปริมาณขยะในโรงเรียน
1.3       การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
-   นักเรียนรู้จักและเห็นคุณค่าของวิธีการลดปริมาณขยะ
-   รู้จักแนวทางเพิ่มรายได้
2.              คุณธรรมกำกับความรู้
2.1       เงื่อนไขคุณธรรม
-   มีความตระหนักในการร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม
-   มีความรับผิดชอบ ขยัน  อดทน  ฝึกทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ครอบครัว
2.2       เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง)
-   นักเรียนรู้จักประโยชน์และวิธีการลดปริมาณขยะเพื่อเพิ่มรายได้

 กิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นนำ
1.  นักเรียนดูภาพถ่ายปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในโรงเรียน ที่ครูนำมาให้ดู (หรือดูจาก Blog)
2.  นักเรียนและครูร่วมกันสนทนาถึงปริมาณขยะและสาเหตุการเกิดขยะในโรงเรียน
3.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปถึงปริมาณขยะและแนวทางการแก้ไขปัญหา
4.   ครูแจ้งผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้นักเรียนทราบ

ขั้นให้ประสบการณ์
1.  นักเรียนและครูนำวิธีการลดปริมาณขยะในโรงเรียน มาสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้
2.  นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงข้อดี  ข้อเสีย  ของการกำจัดขยะในแต่ละวิธี
3.  ครูอธิบายขั้นตอนการนำขยะในโรงเรียนมารีไซเคิล(5R)  แจกในงาน เรื่องวิธีการลดปริมาณขยะ
4.  นักเรียนและครูร่วมกันอภิปรายถึงประโยชน์ของธนาคารขยะในโรงเรียน “ธนาคารขยะโชคดีมี   ทรัพย์”
5.  นักเรียนและครูร่วมกันสรุปวิธีการลดปริมาณขยะในโรงเรียนและวิธีการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว

ขั้นสรุป
1. นักเรียนศึกษา เรื่อง วิธีการลดปริมาณขยะและเพิ่มรายได้ใน Blog
2. นักเรียนและครูสรุปถึงวิธีการลดปริมาณขยะและเพิ่มรายได้ให้ก่อเกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด

สื่อ
1. ใบงาน
2.  Blog เรื่อง วิธีการลดปริมาณขยะและเพิ่มรายได้

แหล่งการเรียนรู้
1.  ผู้รู้
2.  ธนาคารขยะของโรงเรียน
3.  Blog เรื่อง วิธีการลดปริมาณขยะและเพิ่มรายได้

 การวัดและประเมินผล
วิธีการวัดและประเมินผล
1.  สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
2.  ตรวจผลงาน
เครื่องมือวัดผล
1.  แบบสังเกตพฤติกรรม
2.  แบบตรวจผลงาน
เกณฑ์การประเมินผล
                11 – 12  คะแนน                                อยู่ในเกณฑ์                          ดี
                  9 – 10  คะแนน                                อยู่ในเกณฑ์                          พอใช้
ต่ำกว่า 8 คะแนน                               อยู่ในเกณฑ์                          ปานกลาง